‘เสน่ห์ของเกมในสมาร์ทโฟน’ เทคโนโลยีสุดล้ำ

เสน่ห์ของเกมในสมาร์ทโฟน คือ แต่ก่อนเราเล่นเกมมือถือคนเดียวเหมือนเกมกด แต่เกมในสมาร์ทโฟนมีการเชื่อมต่อกับแอพอื่น ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ พอเราเล่นปุ๊บก็สามารถติดต่อไปยังเพื่อนที่อยู่ในโซเชียลมีเดียของเราได้”

ปัจจุบันสมาร์ทโฟนและแท็บเล็ต เป็นสินค้าไอทีที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ด้วยฟังก์ชั่นต่างๆ ที่ใช้งานได้หลากหลาย ง่ายต่อการพกพา โดยเฉพาะเกมในแอพพลิเคชั่นมากมายที่เราสามารถดาวน์โหลดมาเล่นได้ฟรีๆ เพื่อความบันเทิง หากเล่นสนุกอยู่บนความเหมาะสมก็ถือว่าใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกต้องทันยุคสมัย แต่หากใครพลาดพลั้งตกเป็นเหยื่อสูญเสียเงินในกระเป๋าแบบง่ายๆ คงไม่ดีแน่…!!

ภาพรวมของเกมในสมาร์ทโฟน เป็นเกมอย่างหนึ่งที่มีมาหลายสิบปีแล้ว ปัจจุบันเริ่มแพร่หลายมากเพราะมาอยู่ในโทรศัพท์มือถือที่เป็นสมาร์ทโฟน เพราะแต่ก่อนเกมจะอยู่ในเครื่องคอม พิวเตอร์ และพวกเครื่องคอนโซล การเล่นแต่ละครั้งต้องเสียบปลั๊กเปิดโทรทัศน์ดู ยุ่งยาก แต่เมื่อมาอยู่ในโทรศัพท์มือถือ สามารถเล่นได้ง่ายขึ้น

และด้วยความที่เป็นสมาร์ทโฟนทำให้เล่นง่ายมากขึ้น เพราะสมัยก่อนโทรศัพท์มือถือเป็นแบบฟีเจอร์โฟน (feature phone) มีเกมเล็กๆ เหมือนเกมกดจึงไม่ค่อยสนุก แต่พอมาเป็นสมาร์ทโฟนมีซีพียู มีระบบที่ทำงานได้มากขึ้น มีพื้นที่เก็บเกมได้มากขึ้น จึงสามารถใส่ฟังก์ ชั่นได้หลากหลาย ที่สำคัญโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟนสามารถเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้ เกมพวกนี้จึงสามารถเชื่อมต่อไปเล่นกับคนอื่น ๆ ได้

จุดเด่นของเกมสมาร์ทโฟนที่แตกต่างจากเกมอื่นๆ คือ สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีไม่ต้องเสียเงินไปซื้อ แต่ว่าระบบจะเรียกเก็บเงินถ้าเราอยากเล่นเกมให้ง่ายขึ้นหรืออยากได้ฟังก์ชั่นหรือไอเท็มเสริมต่าง ๆ เพื่อให้เราพิชิตเกมให้เร็วขึ้น หรืออาจจะมีโฆษณาแฝงมารบกวนเวลาเล่นต้องจ่ายเงินเพื่อลบออก ซึ่งเสน่ห์ของเกมในสมาร์ท โฟน คือแต่ก่อนเราเล่นเกมมือถือคนเดียวเหมือนเกมกด แต่สมาร์ทโฟนมีการเชื่อมต่อกับแอพอื่น ๆ เช่น เฟซบุ๊ก ไลน์ พอเราเล่นปุ๊บมันสามารถติดต่อไปยังเพื่อนที่อยู่ในโซเชียลมีเดียของเราได้

ถึงแม้ว่าการเล่นเกมในสมาร์ทโฟนจะเหมือนนั่งเล่นอยู่คนเดียว แต่มันก็เหมือนมีส่วนร่วมเล่นกับคนอื่นทางอ้อม เช่น มีการโอ้อวด แจกจ่ายไอเท็ม เชิญชวนเพื่อนให้มาเล่นเพื่อให้ตัวเองได้ไอเท็มเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลยุทธ์ของบริษัทเกมและเป็นการโฆษณาทางอ้อมอย่างหนึ่ง นอกจากนี้บริษัทเกมยังมีกลยุทธ์ที่บอกว่าถ้าอยากได้ไอเท็มเพิ่มหรือเหรียญฟรี ต้องกดไลค์ในเฟซบุ๊กจึงกลายเป็นว่าเมื่อเรากดไลค์ในเฟซบุ๊กแล้วได้เหรียญเพิ่มมาเล็กน้อย แต่เพื่อนที่อยู่เฟซบุ๊กอีกหลายร้อยคนเห็นไลค์ที่เรากดหรือแชร์ กลายเป็นว่าเราโฆษณาให้บริษัทฟรีๆ

เกมที่อยู่ในแอพสโตร์และเพลย์สโตร์ ถือเป็นแอพ แอพหนึ่งที่ใคร ๆ สามารถพัฒนาขึ้นไปอยู่ในนั้นได้ไม่ว่าจะเป็นนิสิตนักศึกษาหรือบุคคลทั่วไป ซึ่งปัจจุบันยังไม่มีหน่วยงานใดเข้ามาตรวจสอบอย่าง เป็นทางการ แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดคือต้องให้ ความรู้ ความตระหนักแก่ผู้ใช้งาน ไม่ว่าจะ เป็นเด็กและเยาวชน รวมทั้งผู้ที่เกี่ยวข้อง ทั้งหลายมากกว่า เพราะว่าการควบคุมสื่อ ต่าง ๆ จากอินเทอร์เน็ตไม่ใช่เรื่องง่าย

วิธีการซื้อของในเกมของสมาร์ทโฟนแตกต่างจากการซื้อขายของทางอินเทอร์เน็ตทั่วไป เช่น ผู้ที่เข้าไปในเว็บของ ‘อเมซอนดอทคอม” มีจุดประสงค์หลักเพื่อซื้อหนังสือ จึงมีความตระหนักดีอยู่แล้วว่าต้องเสียเงินในการซื้อ แต่ว่าเกมในสมาร์ทโฟนการซื้อ-ขายเป็นตัวแฝงที่คนเล่นไม่มีความรู้หรือผู้ใหญ่ที่เอาสมาร์ทโฟนให้เด็กเล่น ย่อมไม่มีทางทราบได้เลย เพราะไม่ได้ตั้งใจจ่ายเงินแต่อยากเล่นเกม ระหว่างเล่นเกมปรากฏว่าตัวละครตาย ระบบจะถามว่าอยากชุบชีวิตหรือไม่หรืออยากได้อาวุธเสริมหรือไม่ ถ้ากดตอบใช่จะมีลิสต์ขึ้นมาระบุราคา ถ้าคนที่ไม่รู้เรื่องก็กดไปทำให้ได้ไอเท็มมาโดยที่ไม่รู้ว่าบัตรเครดิตที่ผูกไว้กับสมาร์ทโฟนโดนตัดเงินไปแล้ว หรือยิ่งถ้าใครใช้แบบลงทะเบียนจ่ายรายเดือนจะมีการเรียกเก็บภายหลัง

ฉะนั้นวิธีที่ดีที่สุดและง่ายที่สุดหากจะต้องซื้อสมาร์ทโฟนให้เด็กใช้ ควรใช้แบบเติมเงินเพราะถ้าเงินหมดก็ใช้ไม่ได้ และการผูกหมายเลขบัตรเครดิตไว้ในโทรศัพท์มือถือ ต้องระวังให้ดี ควรล้างออกทุกครั้งที่ใช้งาน อีกอย่างสาเหตุที่ทำให้ใครหลายคนติดเกมในสมาร์ทโฟน เนื่องจากมีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตได้ ฉะนั้นเกมจึงมีการอัพเดทอยู่ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเกมแองกี้เบิร์ด ถ้าเป็นวิดีโอเกมสมัยก่อนเล่นจบแล้วจบเลย แต่บนสมาร์ทโฟนเล่นเสร็จแล้ว ระบบจะขึ้นแบรนเนอร์มาบอกให้อัพเดทเพิ่มแล้วดาวน์โหลดมาเล่นต่อ ทำให้เรารู้สึกมีอะไรใหม่ๆ มาให้เล่นตลอดจึงไม่รู้สึกเบื่อ

This entry was posted in อินเตอร์เน็ต and tagged , . Bookmark the permalink.

Comments are closed.